ThaiScooter.Com Forums

สิ่งที่ดีร่วมสร้างสรรค์สังคม-->>>"กฎหมายการจราจรทางบก"

ชื่อกระทู้: สิ่งที่ดีร่วมสร้างสรรค์สังคม-->>>"กฎหมายการจราจรทางบก"

Tags: ไม่มี
  1. -->llOUllnJllSJllSJ<--'s Avatar

    -->llOUllnJllSJllSJ<-- said:

    มาตรฐาน สิ่งที่ดีร่วมสร้างสรรค์สังคม-->>>"กฎหมายการจราจรทางบก"

    ร่วมสร้างสรรค์สังคม--ให้กับผู้ใช้รถคลาสสิค--อย่างปลอดภัย---ช่วยไขข้อสงสัยเกี่ยวกับรถไม่มีทะเบียน--กฎหมายคือคำตอบ
    ...ด้วยความปราถนาดีจาก "Handdlebar-Club"..ช่วยสร้างสรรค์สังคมให้กับผู้ใช้รถ.อย่างเข้า ใจเเละสร้างสรรค์สังคม..ช่วยตอบข้อสงสัย...ทางด้านกฎ หมาย..ท่านไดที่อ่านเเล้วมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้ร ถสกูลเตอร์ 2 ล้อเเล้วโดนจับ..มีข้อเเก้ไข..เกี่ยวกับการใช้พื้นที ่จราจร
    ...กฎหมาย มีไว้บังคับให้ประชาชน ปฎิบัตให้ทัดเทียมกันตามรัฐธรรมนูญเเห่งระบบประชาธิป ไตย

    กระผม ผุ้ติดตามสมาชิกสภาผู้เเทนราษฎร หมายเลข ๑๙๐



    หลักการเบื้องต้นของกฎหมายเกี่ยวกับการจราจร

    ลักษณะสำคัญประการหนึ่งของกฎหมายก็คือ กฎหมายต้องเป็นคำสั่ง หรือข้อบังคับที่ใช้ได้เสมอไป (Continuity) หมายความว่ากฎหมายเมื่อประกาศมีผลบังคับใช้แล้วก็ใช้ ได้ตลอดไปจนกว่าจะถูกแก้ไข เปลี่ยนแปลงหรือยกเลิก โดยกระบวนการที่ถูกต้องตามขั้นตอนในภายหลัง เพราะตราบใดที่ยังไม่มีการยกเลิกก็ต้องถือว่ากฎหมายน ั้นยังมีอยู่ จะหยิบยกขึ้นมาใช้เมื่อใดก็ยังคงมีผลบังคับใช้ได้ดัง สุภาษิตกฎหมายที่กล่าวว่า “กฎหมายนอนหลับบางคราวแต่ไม่เคยตาย” (The Laws Sometime Sleep, Never die) การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการจราจรจะมีการปรับปรุง แก้ไขเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการจราจรอยู่ตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
    การกระทำความผิดกฎหมายเกี่ยวกับการจราจรเป็นการกระทำ ผิดที่มีโทษทางอาญาประเภท Mala Prohibita ซึ่งหมายถึงการกระทำผิดที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ว่าเป็ นความผิด กล่าวคือการกระทำนั้น ๆ ไม่ได้เป็นความชั่วหรืออาชญากรรมด้วยตัวของมันเองแต่ อย่างใด เช่น การที่ผู้ขับขี่รถยนต์จะเลี้ยวซ้าย หรือเลี้ยวขวาก็ย่อมสามารถกระทำได้โดยอิสระหากขับขี่ ในบ้านของตนเอง แต่หากขับขี่ไปบนท้องถนนแล้วฝ่าฝืนเครื่องหมายจราจรบ ังคับห้ามเลี้ยวซ้ายเข้า ก็จะเป็นความผิดทันที ทั้ง ๆ ที่การเลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวาก็ไม่ได้เป็นการชั่วหร ือเป็นอาชญากรรมแต่อย่างใด
    อย่างไรก็ตามเมื่อกฎหมายบัญญัติความผิดเกี่ยวกับการจ ราจรขึ้นมาแล้ว ผู้บังคับใช้กฎหมายก็จะต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอ ภาคและเป็นธรรมต่อทุกคน ดังนั้นผู้บังคับใช้กฎหมายทุกฝ่ายจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในกฎหมายที่เกี่ยวกับการจราจรเป็นอย่างดี เนื้อหาในบทนี้จึงมุ่งที่จะให้ความรู้ความเข้าใจในหล ักการเบื้องต้นของกฎหมายเกี่ยวกับการจราจรที่เจ้าหน้ าที่ตำรวจจราจรควรทราบเป็นพื้นฐานเบื้องต้นและนำไปใช ้ปฏิบัติงานด้านการบังคับใช้กฎหมายในหน้าที่ของตนได้ ดังมีหัวข้อสำคัญที่ควรศึกษาและทำความเข้าใจดังต่อไป นี้
    ข้อ 1. ปัญหาการจราจร - ที่มาของปัญหาได้จากปัจจัยสำคัญ 4 ประการ คือ
    1.1 ถนน และผังเมือง
    1.2 ปริมาณรถ และทิศทางการเดินรถ
    1.3 พฤติกรรมการขับขี่
    1.4 การบริหารงานจราจร
    - ถนนตามหลักวิศวกรรมจราจร แบ่งเป็น 4 ประเภท
    1. ทางด่วน (Expressway)
    2. ถนนสายหลัก (Arterial Street)
    3. ถนนสายรอง (Collector Road)
    4. ถนนสายย่อย (Local Road)
    - ลักษณะของถนน แบ่งเป็นตามลำดับชั้นของถนน ได้แก่ ถนนสายหลัก,ถนน
    สายรอง, ถนนสายย่อย
    - การบริหารงานจราจร ประกอบด้วยปัจจัย 3 E คือ
    1. E – Education การให้การศึกษา
    2. E – Enforcement การบังคับใช้กฎหมาย
    3. E – Engineering การดำเนินการทางวิศวกรรม
    - วิศวกรรมจราจร คือ วิศวกรรมแขนงหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการวางแผน การ
    ออกแบบ การควบคุมระบบการจราจรของถนนทางหลวง ตลอดจนการใช้บริเวณที่ดินใกล้เคียงและศึกษาความสัมพั นธ์กับระบบการขนส่งชนิดอื่น หรือหมายถึง การนำเอาหลักการ เครื่องมือ วิธีการ เทคนิค ตลอดจนการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ เพื่อให้ได้มาซึ่งความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และประหยัดในการเคลื่อนย้ายขนถ่ายผู้โดยสาร และสิ่งของ
    องค์ประกอบของการจราจร มีอยู่ 3 ประการ
    1. คนขับรถและคนเดินถนน
    2. รถ และ ระบบการขนส่งทางบก
    3. ถนนและสัญญาณไฟจราจร
    - สัญญาณไฟจราจร (Traffic – Signalization) ใช้ในการควบคุมการจราจร แบ่งเป็น 4 ประเภท
    1. ชนิดตั้งเวลาล่วงหน้า (Pre-Timed)
    2. ชนิดกึ่งอัตโนมัติ (Semi-Actuated)
    3. ชนิดอัตโนมัติ (Fully- Actuated)
    4. ชนิดวัดปริมาณความหนาแน่นของรถ (Volume - Density)
    ข้อ 2. ระบบควบคุมสั่งการจราจร
    คือ ระบบที่ใช้เทคโนโลยีในการควบคุมการจราจร หรือสั่งการไปยัง
    เจ้าหน้าที่บนท้องถนนในการประสานการทำงาน, จัดการจราจร เพื่อให้เกิดการควบคุมสภาพการจราจร และมีการวางแผนการจราจรอย่างมีประสิทธิภาพ แบ่งออกเป็น
    2.1 ระบบควบคุมและสั่งการ (Command Control System)
    - ระบบ CCTV ควบคุมสภาพการจราจรบนท้องถนน (กล้องวงจรปิด) – ควบคุมโดยศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร
    - ระบบ ATC ควบคุมสัญญาณไฟจราจรตามทางแยก
    - ระบบ อ่านป้ายทะเบียนรถอัตโนมัติ
    - ระบบ ถ่ายภาพผู้ฝ่าฝืนสัญญาณไฟ


    2.2 ระบบการสั่งการ (Command system)
    - สร้างข่ายวิทยุสื่อสารของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง และภาคเอกชน ให้สามารถทำงานประสานกันได้ และสามารถควบคุมรถยนต์ทุกชนิด ไว้ในระบบเดียวกัน
    2.3 ระบบสารสนเทศ (Information System)
    - ระบบแผนที่กราฟฟิก (Graffic Mapping )
    - ระบบสถิติสถานภาพข้อมูลจราจร
    - ระบบจำลองสถานการณ์จราจร
    2.4 ระบบประชาสัมพันธ์ (Public Realation System)
    - ระบบแผ่นป้ายสลับข้อความ (Variable Message Signboard)
    - ระบบรายงานข่าวทางวิทยุกระจายเสียง
    ข้อ 3. คำจำกัดความในกฎหมายเกี่ยวกับการจราจร การจราจรเป็นเรื่องที่
    เกี่ยวข้องของรถ คน ถนน และมีกฎหมายหลายฉบับซึ่งให้ความหมายหรือคำจำกัดความไ ว้ต่างกัน จึงจำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจให้ชัดเจนในเรื่อง ดังต่อไปนี้
    1.1เรื่องของ “รถ” กับกฎหมายจราจร ให้ความหมายไว้
    ดังนี้
    ก. ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 “รถ” หมายความว่า
    ยานพาหนะ ทางบกทุกชนิดเว้นแต่รถไฟ และรถราง (ชนิดของรถ ยังแยกออกเป็นชนิดต่าง ๆ อีก เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถจักรยาน รถฉุกเฉิน รถบรรทุก รถบรรทุกคนโดยสาร รถโรงเรียน รถโดยสารประจำทาง รถแท็กซี่ รถลากจูง รถพ่วง ซึ่งมีหมายความหรือคำจำกัดความต่างกันไป
    ข. ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 “รถ” หมายความว่า รถยนต์
    รถจักรยานยนต์ รถพ่วง รถบดถนน รถแทรกเตอร์ และรถอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (รถยนต์ รถยนต์สาธารณะ รถยนต์-บริการ รถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ รถพ่วง รถบดถนน รถแทรกเตอร์ ก็มีคำจำกัดความต่างกันออกไปอีก)
    ค. ตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 “รถ” หมายความ
    ว่า ยานพาหนะทุกชนิดที่ใช้ในการขนส่งทางบก ซึ่งเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น และหมายความรวมตลอดถึงรถพ่วงของรถนั้นด้วย ทั้งนี้เว้นแต่รถไฟ
    ข้อสังเกตุ คำว่า “รถ” ตามหมายความของกฎหมายแต่ละฉบับ
    นั้นมีความหมายไม่เหมือนกัน


    1.2เรื่องของ “คน” กับกฎหมายจราจร ให้ความหมายไว้
    ดังนี้
    ก. ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 “ผู้ขับขี่” หมายความ
    ว่า ผู้ขับรถ ผู้ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งตามกฎหมายว่าด้วยการข นส่งตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่ง ผู้ลากเข็นยานพาหนะ “คนเดินเท้า” หมายความว่า คนเดินและให้รวมตลอดถึงผู้ใช้เก้าอี้ล้อสำหรับคนพิกา ร หรือรถสำหรับเด็กด้วย “เจ้าของรถ” หมายความรวมถึงผู้มีรถไว้ในครอบครองด้วย “ผู้เก็บค่าโดยสาร” หมายความว่าผู้ซึ่งรับผิดชอบในการเก็บค่าโดยสาร และดูแลคนโดยสารที่อยู่ประจำรถบรรทุกคนโดยสาร
    1.3เรื่องของ “ทาง” กับกฎหมายจราจร มีกำหนดให้
    ความหมายไว้ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 กำหนดให้ความหมายดังนี้ “ทาง"” หมายความว่าทางเดินรถ ช่องเดินรถ ช่องเดินรถประจำทาง ไหล่ทาง ทางเท้า ทางข้าม ทางร่วมทางแยก ทางลาด ทางโค้ง สะพาน และ ลานที่ประชาชนใช้ในการจราจร และให้หมายความรวมถึงทางส่วนบุคคลที่เจ้าของยินยอมให ้ประชาชนใช้ในการจราจร หรือที่เจ้าพนักงานจราจรได้ประกาศให้เป็นทางตามพระรา ชบัญญัตินี้ด้วย แต่ไม่รวมถึงทางรถไฟ
    “ทาง” ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะสถานที่เกิดเหตุในคดีจราจรจะต้องเกิดขึ้นในทางเ สียก่อนเมื่อคดีเกิดขึ้นในทางแล้ว จึงนำเอาตัวบทกฎหมายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ เข้าไปพิจารณามีความเห็นทางคดีได้
    แต่ถ้าเมื่อใดสถานที่เกิดเหตุไม่ใช่ทาง ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ นี้แล้ว พนักงานสอบสวนก็ไม่สามารถจะนำเอาตัวบทกฎหมายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ นี้เข้าปรับพิจารณามีความเห็นทางคดีได้ เมื่อพิจารณาตามคำจำกัดความของคำว่า “ทาง” ตามมาตรา 4 (2) แล้ว สามารถแยกอธิบายได้เป็น 2 ประการ คือ
    1)“ทาง” ตามความหมายที่ 1 หมายถึง ถนนหนทางต่าง ๆ
    ตรอก ซอย โดยสภาพมองเห็นชัดเจน และอยู่ในความดูแลของทางราชการ หรือของแผ่นดิน ในการพิจารณาใช้เป็นสถานที่เกิดเหตุของพนักงานสอบสวน ในทางปฏิบัตินั้นไม่มีปัญหาสามารถพิจารณาดูได้ เช่น ถนนพหลโยธิน ถนนนารายณ์มหาราช ซอยต่าง ๆ ที่แยกออกจากถนนต่าง ๆ ดังกล่าว และตามถนนดังกล่าวก็จะมีเครื่องหมายการจราจรกำหนดไว้
    “ลาน” ที่ประชาชนใช้ในการจราจร ซึ่งลานดังกล่าวนี้อยู่ในความ
    รับผิดชอบของทางราชการโดยสภาพที่มองเห็น ลานไม่ใช่ถนนแต่เป็นลานที่ประชาชนใช้ในการจราจร เช่น ในกรุงเทพมหานคร คือ ลานพระบรมรูปทรงม้า เป็นต้น
    2)ทาง ตามความหมายที่ 2 หมายถึงทาง ส่วนบุคคล ไม่ว่าจะ
    เป็นของบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ก็ได้ แต่ไม่ใช่ของทางราชการไม่ใช่ของแผ่นดิน แต่ที่เป็น “ทาง” เพราะกฎหมายนี้ กำหนดให้เป็นทาง ทางที่เป็นของส่วนบุคคลที่จะจัดว่าเป็นทางตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ ก็หมายถึงทาง ที่ส่วนบุคคลนั้น (เจ้าของทาง) ยินยอมให้ประชาชนใช้ในการจราจร
    สำหรับ “ทาง” ในความหมายที่ 2 นี้พิจารณาแล้วเห็นว่าจะมีปัญหาต่อพนักงานสอบสวนค่อน ข้างมาก เพราะบางสถานที่ไม่สามารถจะพิจารณาได้ชัดเจนว่าเจ้าข องทางนั้น “ยินยอม” ให้ประชาชนใช้ในการจราจรหรือไม่ และคำว่ายินยอมนั้นแค่ไหน เพียงใดถึงจะว่ายินยอม
    ข้อ 4. ศึกษาสภาพของ รถ คน ถนน ว่ามีกฎหมายใดกำหนดไว้เป็นอย่างใด ซึ่ง
    ส่วนใหญ่แล้วสภาพของรถจะกำหนดไว้ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ฯ (สำหรับรถเล็ก) พ.ร.บ.การขนส่งทางบก ฯ (สำหรับรถ-ใหญ่) เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่พบเห็นรถควรพิจารณาเป็นอันดั บแรกให้ได้ว่ารถคันดังกล่าวนั้น ดำเนินการถูกต้องเรื่องสภาพของรถตามกฎหมายที่กำหนดไว ้หรือไม่เช่นการจดทะเบียน การเสียภาษีประจำปี และการมีเครื่องอุปกรณ์ส่วนควบครบถูกต้องตามกฎหมายหร ือไม่ หรือเป็นรถที่ได้รับการยกเว้นตามข้อกฎหมายหรือไม่ (พ.ร.บ.รถยนต์ ฯ ม.8,9) เป็นต้น
    การสังเกตประเภทของรถที่จดทะเบียนตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก ฯ
    สามารถสังเกตได้จาก รหัสตัวเลข 2 ตัว แสดงประเภทการขนส่ง แล้วตามด้วยตัวเลขอีก 4 ตัว ซึ่งเลขรหัส 2 ตัว ข้างหน้านั้นมีการใช้แสดงประเภทของรถขนส่ง ดังนี้
    1. รถโดยสารประจำทาง ใช้หมายเลขตั้งแต่ 10 ถึง 19
    2. รถขนาดเล็ก ใช้หมายเลขตั้งแต่ 20 ถึง 29
    3. รถโดยสารไม่ประจำทาง ใช้หมายเลขตั้งแต่ 30 ถึง 39
    4. รถโดยสารส่วนบุคคล ใช้หมายเลขตั้งแต่ 40 ถึง 49 และ
    50 ถึง 59
    5. รถบรรทุกประจำทาง ใช้หมายเลขตั้งแต่ 60 ถึง 69
    6. รถบรรทุกไม่ประจำทาง ใช้หมายเลขตั้งแต่ 70 ถึง 79
    7. รถบรรทุกส่วนบุคคล ใช้หมายเลขตั้งแต่ 80 ถึง 89 และ
    90 ถึง 99
    สภาพหรือคุณสมบัติของคนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายจราจรค วรจะต้องศึกษา
    ถึง “ผู้ขับขี่” ว่าเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ขับขี่รถนั้น ตรงตามกฎหมาย ตรงตามประเภทของใบอนุญาตหรือไม่ (พ.ร.บ.รถยนต์ ฯ ม.43, ม.43 ทวิ หรือ พ.ร.บ.การขนส่งทางบกฯ ม.92, ม.94 และ ม.95 ) เป็นต้น
    สภาพของถนนหรือทางควรจะต้องพิจารณาก่อนว่าถนนหรือซอย หรือทาง
    นั้นเป็น “ทาง” ตามความหมายของกฎหมายจราจรตามข้อ 1.3 ที่กล่าวมาแล้วนั้นหรือไม่
    ข้อ 5. ศึกษาการใช้ทางเดินรถ ว่าด้วยการขับรถ การเลี้ยวรถ การกลับรถ การ
    ขับรถแซงขึ้นหน้า การใช้ความเร็วของรถ การหยุดรถ การจอดรถ มีข้อกฎหมายกำหนดไว้อย่างไร ส่วนใหญ่เป็นการกำหนดไว้ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 กฎกระทรวง และระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ซึ่งออกตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ (มีข้อหาฐานความผิดตามข้อ 7)
    ข้อสังเกต ในการปฏิบัติเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรควรทำความเข้าใจใน เรื่องเหล่านี้
    1.การหยุด การจอด มีเครื่องหมายจราจรการห้ามหยุด และห้ามจอดมี
    รูปแบบต่างกันตามข้อกำหนด ฯ ออกตาม ม.21 แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ กำหนดทั้งการหยุด และการจอดเป็นความผิดต่างกัน ใช้กฎหมายคนละมาตรา (ม.55 และ ม.57) ดังนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรต้องทำความเข้าใจคำว่า “หยุด” กับ “จอด” เพื่อประกอบการแจ้งข้อหาให้ถูกต้อง ดังนี้
    “หยุด” น่าจะหมายความถึงพฤติกรรมการไม่เคลื่อนรถไปในทาง ใน
    ระยะเวลาสั้น ๆ โดยผู้ขับขี่ยังอยู่ในลักษณะที่ควบคุมรถได้ และสามารถจะเคลื่อนรถไปได้ทันทีที่ต้องการ
    “จอด” น่าจะหมายความถึงพฤติกรรมการไม่เคลื่อนรถไปในทาง เป็น
    ระยะเวลานาน และผู้ขับขี่ไม่อยู่ควบคุมรถนั้น
    (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของคำว่า “หยุด”
    และ “จอด” ไว้ดังนี้ “หยุด” เป็นกริยา หมายถึง ชะงัก, นิ่งอยู่กับที่, พัก เช่น หยุดงาน ส่วนคำว่า “จอด” เป็นกริยา หมายถึง หยุดอยู่, ทำให้ติดกัน
    2.ถ้ามีเครื่องหมายห้ามเลี้ยวรถ จะกลับรถได้หรือไม่ หรือมี
    เครื่องหมายห้ามกลับรถ จะเลี้ยวซ้าย หรือขวาได้หรือไม่ และตรงที่ทางร่วมทางแยกไม่มีเครื่องหมายห้ามกลับรถ จะกลับได้หรือไม่
    ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ ม.53 กำหนดห้ามเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา หรือห้ามกลับรถ ถ้ามีเครื่องหมายจราจรห้ามเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา หรือห้ามกลับรถอย่างใด อย่างหนึ่งกำหนดห้ามไว้ และตรงทางร่วมทางแยกกฎหมายกำหนดห้ามกลับรถ เว้นแต่มีเครื่องหมายจราจรให้กลับรถได้
    3.การขับรถเมื่อมาถึงทางร่วมทางแยกพร้อมกัน และไม่มีเครื่องหมาย
    แสดงว่าทางใดเป็นทางเอกหรือทางโท จะให้สิทธิรถทางด้านใดไปก่อน
    ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ ม.71 กำหนดให้รถทางด้านซ้ายของตนไป
    ก่อน
    ข้อ 6. เครื่องหมายจราจร และสัญญาณจราจร เป็นเครื่องหมายและสัญญาณที่
    ทำให้ปรากฏในทางซึ่งผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนขี่ จูง ไล่ต้อนสัตว์ต้องปฏิบัติตาม
    เครื่องหมายจราจร แบ่งเป็น 2 ชนิด (ทำด้วยแผ่นป้าย ไม้ โลหะ ฯ กับ
    เครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง) ชนิดที่ทำด้วยแผ่นป้าย ไม้ โลหะแบ่งเป็น 2 ประเภท (บังคับ กับ เตือน) รูปแบบของเครื่องหมายจราจร กำหนดไว้ ตามข้อกำหนดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2522 แก้ไขตามฉบับที่ 2 พ.ศ.2531 และฉบับที่ 3 พ.ศ.2536 ส่วนสัญญาณจราจร แบ่งได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่ 1. ท่าสัญญาณ หรือสัญญาณมือ 2. เสียงสัญญาณหรือสัญญาณนกหวีด และ 3. ไฟสัญญาณ หรือสัญญาณไฟ
    การติดตั้งเครื่องหมายจราจรให้ปรากฏในทางนั้นจะกระทำ ได้โดยพนักงาน
    เจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงาน (หมายถึงเจ้าหน้าที่ ซึ่งได้รับมอบหมาย) ตาม ม.28 แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ เท่านั้น บุคคลอื่นจะกระทำหรือติดตั้งไม่ได้
    ข้อสังเกต ในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรควรแจ้งข้อหาให้ถู กต้อง
    ดังนี้
    การแจ้งข้อหาแก่ผู้กระทำผิดในกรณีการฝ่าฝืนเครื่องหม ายจราจร ตาม
    พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ นั้นเป็นไปได้ 2 กรณี ดังนี้
    1. เครื่องหมายจราจรนั้นหากติดตั้งโดยอำนาจตาม ม.28 คือ
    เครื่องหมายจราจรที่มีรูปแบบตามข้อกำหนดของสำนักงานต ำรวจแห่งชาติ กำหนดไว้แล้วมีผลบังคับใช้ตลอดเวลา (ไม่ใช่เป็นบางเวลา) เช่น ห้ามจอดตลอดเวลา ห้ามเลี้ยวรถตลอดเวลา ห้ามกลับรถตลอดเวลา เป็นต้น เห็นว่า ผู้ฝ่าฝืนกระทำความผิดข้อหา ฝ่าฝืนเครื่องหมายจราจร ฯ (ม.21)
    2.เครื่องหมายจราจร นั้นติดตั้งโดยการออกข้อบังคับเจ้าพนักงาน
    จราจร ตาม ม.139 คือ เครื่องหมายจราจรที่มีรูแบบตามข้อกำหนดของสำนักงานตำ รวจแห่งชาติกำหนดไว้ แต่มีผลบังคับใช้เป็นช่วงเวลาเป็นส่วนใหญ่ มีการกำหนดเวลาประกอบอยู่ด้วยกับเครื่องหมายจราจรนั้ น เพื่อบังคับให้เป็นไปตามข้อบังคับนั้น ๆ เห็นว่า ผู้ฝ่าฝืนกระทำความผิดข้อหาฝ่าฝืนข้อบังคับเจ้าพนักง านจราจร ฯ (ม.139)
    3.การติดตั้งเครื่องหมายจราจร จำเป็นจะต้องออกข้อบังคับ ฯ
    มารองรับก่อนหรือไม่ จึงจะติดตั้งเครื่องหมายจราจรได้
    ควรพิจารณา ม.28 แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ หากผู้ทำหรือ
    ติดตั้งเครื่องหมายจราจร นั้นกระทำโดยบุคคลซึ่งชอบตามกฎหมายกำหนดแล้ว และรูปแบบเครื่องหมายจราจรนั้นเป็นไปตามข้อกำหนด ฯ หากมีผู้ฝ่าฝืนเครื่องหมายจราจรนั้น ย่อมเป็นความผิดตาม ม.21 แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ ฐานฝ่าฝืนเครื่องหมายจราจร
    ดังนั้น การติดตั้งเครื่องหมายจราจรซึ่งมีรูปแบบตามข้อกำหนดฯ
    บนทางเดินรถเพื่อให้มีผลบังคับใช้ตลอดเวลา ไม่จำเป็นต้องออกข้อบังคับฯ มารองรับแต่อย่างไร


    1. ในกรุงเทพมหานคร การออกข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจร โดย
    อาศัยอำนาจตาม ม.139 แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ นั้น แบ่งเป็น 2 ประเภท เพื่อสะดวกในการปฏิบัติและมิให้เกิดการสับสนกับพนักง านเจ้าหน้าที่และประชาชน คือ
    4.1 ข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจร ซึ่งมีผลบังคับใช้เป็น
    ระยะเวลาสั้น ๆ เรียกว่า “ข้อบังคับกองบังคับการตำรวจจราจร” มีผู้บังคับการกองบังคับการตำรวจจราจร เป็นเจ้าพนักงานจราจร (ลงนาม)
    4.2 ข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจร ซึ่งมีผลบังคับใช้ตลอดการ
    จนกว่าจะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง เรียกว่า “ข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพ-
    มหานคร” มีผู้บัญชาการกองบัญชาการตำรวจนครบาลเป็นเจ้าพนักงาน จราจร (ลงนาม)
    4.3 สำหรับนอกเขตกรุงเทพมหานคร (จังหวัดอื่น ๆ) ข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจร มีผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเป็นผู้ลงนาม
    ข้อ 7. อำนาจเจ้าพนักงานจราจร และพนักงานเจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงานจราจร
    จะต้องเป็นผู้ได้รับการแต่งตั้งตามคำสั่งกระทรวงมหาด ไทย (ปัจจุบันเป็นคำสั่ง ที่ 387/2541 ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2541) และมีอำนาจหน้าที่ตามที่ พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ ม.19, ม.114, ม.133, ม.138, ม.139, ม.142, ม.143, ม.143 ทวิ และ ม.144 กำหนดให้อำนาจไว้
    พนักงานเจ้าหน้าที่ คือ ตำรวจซึ่งปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการจราจรมีอำนาจหน้าที ่
    บังคับใช้กฎหมายให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และมีอำนาจว่ากล่าวตักเตือนได้ตาม ม.140 แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ โดยยกเว้นห้ามว่ากล่าวตักเตือนในความผิดดังต่อไปนี้ ขับขี่รถขณะเสพยาเสพติดให้โทษ ฯ (ม.43 ทวิ) ผู้ขับขี่ขัดคำสั่งเจ้าพนักงานจราจร หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ฯ (ม.59) ผู้ขับขี่เมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วไม่หยุดช่วยเหลือ ไม่แจ้งเหตุ หลบหนี (ม.78) ผู้ขับขี่แข่งรถในทาง (ม.134)
    ข้อสังเกต ในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรมักประสบปัญหาและไ ม่เข้าใจในเรื่องเหล่านี้
    1.เมื่อออกใบสั่งจับกุมผู้กระทำความผิดแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรมี
    อำนาจยึดบัตรประจำตัวประชาชน แผ่นป้ายทะเบียนแสดงการเสียภาษีรถ หรือบัตรอื่น ๆ ได้หรือไม่ และเมื่อพบผู้กระทำความผิดเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร จำเป็นจะต้องยึดใบอนุญาตขับรถทุกครั้งหรือไม่
    ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ ม.140 ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร
    เรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่เท่านั้น ไว้เป็นการชั่วคราว และไม่จำเป็นจะต้องเรียกเก็บหรือยึดใบอนุญาตขับรถไว้ ทุกครั้งก็ได้
    1.เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร ขอดูใบอนุญาตขับรถ แล้วผู้ขับขี่ไม่ให้ดู จะ
    ทำอย่างไร หรือกรณียกชูใบอนุญาตให้ดูแล้วไม่ส่งมอบให้เจ้าหน้าท ี่ตำรวจจราจร จะเป็นความผิดอะไร

    ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ฯ ม.42 กำหนดให้ผู้ขับรถต้องมีใบอนุญาตขับรถ
    เพื่อแสดงต่อเจ้าพนักงานได้ทันที ดังนั้นการไม่แสดงใบอนุญาตขับรถเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรว จจราจรขอดู (ต้องแสดงในทันที) จึงเป็นความผิดตามมาตรานี้ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ตาม ม.66 และการยกชูให้ดูแต่ไม่ส่งมอบให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจ ร ก็น่าจะถือว่าการกระทำนั้นไม่ได้เป็นการแสดงใบอนุญาต ขับขี่ให้ดูด้วยเช่นกัน
    ข้อ 8. กฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจร ที่ควรทราบ
    เนื่องจากสภาพการจราจรได้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ดังนั้นกฎหมายที่
    เกี่ยวข้องกับการจราจร ซึ่งได้กำหนดให้อำนาจผู้มีอำนาจตามกฎหมาย ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎ กระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรให้เหมาะสมอยู่ตลอดเวลา ซึ่งควรทราบ ดังต่อไปนี้
    8.1 กฎกระทรวง ฉบับที่ 4(พ.ศ.2522) ว่าด้วย หลักเกณฑ์การบรรทุกของ
    รถบรรทุก (ความกว้าง ความยาว ความสูง)
    8.2 กฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2522) ว่าด้วย การกำหนดความเร็วของ
    รถ
    8.3 กฎกระทรวง ฉบับที่ 16 (พ.ศ.2537) ว่าด้วย การทดสอบผู้ขับขี่เมา
    สุราขณะขับรถ
    8.4 คำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ 387/2541 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงาน
    จราจรตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ฉบับลงวันที่ 14 สิงหาคม 2541
    8.5 ข้อกำหนดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วย การกำหนดประเภท และ
    ชนิดของรถยนต์ ลักษณะและวิธีการใช้เข็มขัดนิรภัย ฉบับลงวันที่ 6 ตุลาคม 2540
    8.6 ข้อกำหนดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วย การดำเนินการบันทึก
    คะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่กระทำผิดและการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ฉบ ับลงวันที่ 20 เม.ย.2542
    8.7 ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วย การใช้วัสดุกรองแสงกับรถที่
    นำมาใช้ในการเดินรถ ฉบับลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2541
    8.8 ข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรทั่วราชอาณาจักร ว่าด้วย การห้ามรถยนต์
    บรรทุก 4 ล้อ และ 6 ล้อ เดินในเขตกรุงเทพมหานคร ฉบับลงวันที่ 21 ธันวาคม 2532
    8.9 ข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรทั่วราชอาณาจักร ว่าด้วย การห้ามรถยนต์
    บรรทุกถังขน-ส่งก๊าซ ตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไป และรถพ่วงเดินในเขตกรุงเทพมหานคร ฉบับลงวันที่ 7 ธันวาคม 2533
    8.10 ข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรทั่วราชอาณาจักร ว่าด้วย การห้ามรถยนต์
    บรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป และรถบางชนิดเดินในถนนบางสายในเขตกรุงเทพมหานคร ฉบับลงวันที่ 18 มีนาคม 2539
    8.11 ข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรทั่วราชอาณาจักร ว่าด้วย การห้าม
    รถยนต์บรรทุกน้ำมัน ตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไป และรถพ่วง เดินในเขตกรุงเทพมหานคร ฉบับลงวันที่ 12 เมษายน 2542
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย -->llOUllnJllSJllSJ<-- : 17-03-2009 เมื่อ 15:14


    "+>>Handlebar - Club<<+" คลับสำหรับฅนรักแฮนแป๊ป
    """""""Vespa125 (1954) VM2M ลูกสูบ GPM 3 เเหวน 57.5mm """""""
      IP
  2. -->llOUllnJllSJllSJ<--'s Avatar

    -->llOUllnJllSJllSJ<-- said:

    มาตรฐาน เกี่ยวกับรถจักรยานยนเเต่ง............ที่วิ่งบนท้อง ถนน.

    .....เเต่งเเบบไหน..เเล้วไม่ผิดกฎหมาย.^^

    (*** พึ่งระวังไว้เสมอว่า รายละเอียดในใบสั่งจะต้องระบุความผิดให้ชัดเจน อย่าให้เจ้าพนักงานจราจรเขียนเพียงว่า ดัดแปลงสภาพ ปรับแต่งสภาพ รถอยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์ อย่างนี้ผิดแน่นอน เพราะเราไม่มีหลักฐานอ้างอิง ***) ใน พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 14 ระบุว่า รถใดที่จดทะเบียนแล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดเปลี่ยนแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วนหนึ่งข องรถผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้และใช้รถนั้น เว้นแต่เจ้าของรถนำรถไปให้นายทะเบียนตรวจสภาพก่อน เพราะฉะนั้นถ้าไม่ได้ระบุไว้ในเล่มทะเบียนจึงไม่ผิดน ะครับ
    1. กม.ไม่บังคับเกี่ยวกับการเปลี่ยนโชคอัพรถจักรยานยนต์ รวมทั้ง โซ่รถ ดุมล้อ แต่อย่างไรก็ตามหากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้สภาพร ถผิดไปจากที่จดทะเบียนไว้ เช่น รถเตี้ยลงกว่าเดิมจนระดับความสูงของไฟหน้าต่ำหรือสูง กว่าที่กม.กำหนดก็มีความผิด ฐานเปลี่ยนแปลงสภาพรถให้ผิดไปจากที่จดทะเบียนไว้ (ไฟต่ำหน้า ห้ามต่ำกว่า 50 เซนต์ หรือสูงกว่า 120 เซนต์)

    2. จักรยานยนต์ที่ปาดเบาะ ทรงต่าง ๆ ไม่ผิดกฏหมาย พรบ.จราจรฯ

    3. หมวกกันน๊อดจำเป็นจะต้องมีตรา มอก. รองรับมาตราฐานครับ ไม่ว่ายี่ห้อใด ๆ ก็ตาม

    4. วงล้ออลูมิเนียม ล้อสีทอง และซี่ลวดสี น๊อตสี ล้อแมกซ์ ไม่ผิด กม. ครับ

    5. การติดสติกเกอร์ ถ้าไม่ได้ทำให้สีเดิมของรถเปลี่ยนแปลงไป ไม่ผิด กม.ครับ

    6. มาตรา 42 ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 ผู้ขับรถต้องได้รับใบอนูญาตขับรถและต้องมีใบอนุญาตขั บรถและสำเนาภาพถ่ายใบคู่มือจดทะเบียนรถในขณะขับ ฯลฯ เพื่อแสดงต่อเจ้าพนักงานได้ทันที ไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

    7. กรณีมีรถประจำทางจอดอยู่ ถือว่าเป็นกรณีมีสิ่งกีดขวาง ดังนั้นจึงสามารถแซงออกมาได้ แต่ต้องรีบเข้าทางด้านซ้ายของทางเดินรถทันที เมื่อแซงพ้นออกไปแล้ว ไม่ใช่วิ่งต่อไปอีก ถ้าเป็นเช่นนั้นก็อาจจะถูกจับได้

    8. การนำกรอบอลูมิเนียมมาหุ้มแผ่นป้ายทะเบียนรถ หรือเจาะรูไส่น๊อต ไม่ผิดกฎหมายและไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพรถ เว้นแต่การหุ้มนั้นปิดบังสาระสำคัญของหมวดอักษร หรือ หมวดตัวเลข หรือตัวย่อ ขส.

    9. การไม่ชำระค่าปรับตามกำหนด 7 วัน (ดูได้จากหลังใบสั่งทุกใบ) จะต้องถูกปรับเพิ่มอีก 100 บาท( โดยประมาณ) แต่ไม่เกิน 1,000 บาท (ตามกม. และใช้ใบสั่งแทนได้ 7 วัน

    10. การถูกบันทึกคะแนน (ตัดคะแนน) ความผิดจะถูกยกเลิกไปโดยอัตโนมัติใน 1 ปี นับแต่วันที่ถูกจับกุม

    11. การทำความผิดซ้ำในข้อหาเดียวกันภายใน 1 ปี จะต้องเข้ารับการอบรม

    12. กม.กำหนดให้ไฟหน้าของรถต้องเป็นไฟแสงขาว ซึ่งไฟที่ติดมากับรถเมื่อออกจากบริษัทขายรถนั้น เป็นแสงขาวถูกต้องแล้ว
    การเปลี่ยนเป็นหลอดซีนอน ไม่มีความเป็น เพราะไฟที่มาจากโรงงานผลิตรถนั้น ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยดีแล้ว

    13. ขณะนี้ยังไม่มี กม.บังคับ ให้เปิดไฟหน้ารถจักรยานยนต์เวลากลางวัน ถ้าถูกจับให้ไปพบร้อยเวร คุณไม่ต้องเสียค่าปรับหรอกครับ

    14. รถจักรยานยนต์หรือ รถอื่นๆ หากเอกสารครบถ้วน สามารถจดทะเบียน พร้อมกับได้รับป้ายทะเบียนรถ ได้ภายใน 1 วัน เป็นการยืนยันของอธิบดีกรมการขนส่งทางบก แต่เป็นไปได้ยากในความเป็นจริง ดังนั้นถ้ารถยังไม่ได้แผ่นป้ายทะเบียน ขอย้ำว่ายังไงก็ผิดครับ

    15. ถ้าป้ายทะเบียนหาย ไม่สามารถใช้ใบแจ้งความเพื่อแทนแผ่นป้ายทะเบียนได้ จะต้อง นำใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานที่กรมการขนส่งทางบกออกใ ห้โดยระบุว่าให้มารับแผ่นป้ายใหม่อีก 60 วัน (หรือแล้วแต่ที่ระบุไว้) ติดตัวผู้ขับขี่ แสดงให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรเมื่อขอตรวจ และ ระหว่างที่ยังไม่ได้แผ่นป้ายทะเบียนใหม่ ให้ใช้แผ่นไม้หรือวัสดุอื่นใดที่แข็งแรงพอสมควร (ที่ไม่ใช่กระดาษเพราะโดนฝนแล้ว จะหลุดเลอะเลือน) เขียนหรือพิมพ์เลขทะเบียนรถและจังหวัด ขนาดเท่าของจริง ติดไว้แทนแผ่นที่หายไป

    16. รถที่นำมาขับขี่ ต้องมีโคมไฟส่องป้ายทะเบียนรถ ใช้ไฟแสงขาว ติดท้ายรถส่องที่ป้ายทะเบียนรถมีความสว่างสามารถอ่าน ป้ายทะเบียนรถได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 20 เมตร จากท้ายรถ แต่ต้องมีที่บังมิให้แสงพุ่งออกไป
    ทางท้ายรถ ฝ่าฝืนปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

    17. ไฟเบรคต้องเป็นสีแดงเท่านั้น การติดไฟเบรคดิสโก้นั้น ผิดแน่นอนครับ เพราะไฟเบรคของรถทุกชนิด ต้องเป็นสีแดงอย่างเดียวเท่านั้น และจะส่องแสงสว่างเมื่อใช้ห้ามล้อ


    "+>>Handlebar - Club<<+" คลับสำหรับฅนรักแฮนแป๊ป
    """""""Vespa125 (1954) VM2M ลูกสูบ GPM 3 เเหวน 57.5mm """""""
      IP
  3. -->llOUllnJllSJllSJ<--'s Avatar

    -->llOUllnJllSJllSJ<-- said:

    มาตรฐาน การติดเเผ่นป้ายทะเบียน............ที่ผิดกฎหมาย

    ...เเผ่นป้ายผิดกฎหมาย..เเบบไหนละ??


    นครบาลจับป้ายทะเบียนพับเอียง พล.ต.ต.ภาณุ เกิดลาภผล รองผบช.น. ดูแลงานด้านการจราจร แจ้งว่าด้วยขณะนี้ตรวจพบผู้กระทำผิดเกี่ยวกับ
    การติดแผ่นป้ายทะเบียนรถฝ่าฝืนกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการติดแผ่นป้ายทะเบียนแฟชั่น แผ่นป้ายทะเบียนเลอะเลือน หรือมีวัสดุอื่นปิดบัง ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน หรือบางรายไม่ใช้แผ่นป้ายทะเบียนของทางราชการ
    เข้าข่ายติดแผ่นป้ายทะเบียนปลอม เป็นต้น และยังตรวจพบมีผู้ติดแผ่นป้ายทะเบียนของทางราชการปรั บแต่งพับเอียงได้ ไม่ติดตรึงกับรถทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ทำให้เห็นไม่ชัดเจน การกระทำในลักษณะดังกล่าว เข้าข่ายความ
    ผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 11 (กฎกระทรวง พ.ศ.2547) มีโทษปรับไม่เกิด 2,000 บาท จึงฝากเตือนให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองรถตรวจสอบและดำ เนินการเกี่ยวกับแผ่นป้ายทะเบียนรถให้ถูกต้องตามกฎหม าย จะได้ไม่ต้องถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม กองบัญชาการตำรวจนครบาลจะได้กวนขันจับกุมความผิดเกี่ ยวกับแผ่นป้ายทะเบียนในลักษณะดังกล่าวแล้วข้างต้นอย่ างจริงจังและต่อเนื่อง (ที่มา,บก.จร )


    "+>>Handlebar - Club<<+" คลับสำหรับฅนรักแฮนแป๊ป
    """""""Vespa125 (1954) VM2M ลูกสูบ GPM 3 เเหวน 57.5mm """""""
      IP
  4. -->llOUllnJllSJllSJ<--'s Avatar

    -->llOUllnJllSJllSJ<-- said:

    มาตรฐาน ไฟจราจร....เเบบไหนละที่ผิด

    ...จุดติดตั้งไฟสัญญาณจราจร..ที่มีกล้องตรวจจับการฝ่ าฝืนสัญญาน

    ใน กทม. มีการติดตั้งกล้องตรวจจับการฝืนสัญญานไฟจราจร..จุดไห นบ้างไปชมกันครับ.........^^

    Red Light Camera “ระบบตรวจจับรถยนต์ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร”(Red Light Camera) เริ่มต้นใช้ตั้งแต่วันที่ 30 ธ.ค. 51 ซึ่งกล้องจะมรการตรวจจับ 3 กรณี 1. ผ่าสัญญาณไฟแดง นอกจากนี้พวกที่ฝ่าไฟเหลืองก็มีโทษเช่นเดียวกับฝ่าไฟ แดง แต่จะไม่ตัดแต้ม 2. จอดติดสัญญาณไฟแดงทับเส้นขาวด้านหน้า 3. จอดรถติดสัญญาณไฟแดงคล่อมช่องทาง (คล่อมเส้นขาว) / ทางแยกไฟแดงที่มีกล้อง ตรวจจับรถยนต์ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร”(Red Light Camera) มีดังต่อไปนี้ 1.แยกรัชดาฯ-ลาดพร้าว, 2.แยกบ้านม้า, 3.แยกคลองตัน, 4.แยกอโศกเพชร, 5.แยกวิทยุ-เพลินจิต, 6.แยกซังฮี้, 7.แยกพญาไท, 8.แยกโชคชัย 4, 9.แยกนิด้า, 10.แยกอุรุพงษ์, 11.แยกประดิพัทธ์, 12.แยกรัชดาฯ-พระราม 4, 13.แยกลำสาลี, 14.แยกบ้านแขก, 15.แยกบางพลัด, 16.แยกนรินทร, 17.แยกราชประสงค์,18.แยกอโศกสุขุมวิท,19.แยกสาทร, 20.แยกตากสิน, 21.แยกโพธิ์แก้ว, 22.แยกพัฒนาการ-ตัดรามฯ 24, 23.แยกร่มเกล้า, 24.แยกศุลกากร, 25.แยกเหม่งจ๋าย, 26.แยกท่าพระ, 27.แยกประเวศ, 28.แยกอังรีดูนังต์, 29.แยกประชานุกูล และ 30.แยกบางโพ / ค่าปรับมีอัตราเดียว 500 บาท เป็นความผิดตามพ.ร.บ.จราจรทางบก ข้อหาขับรถฝ่าฝืนสัญญาณจราจรไฟสีแดง มาตรา 22 (2) มีโทษตามมาตรา 152 ปรับไม่เกิน 1,000 บาท และตัดแต้ม 40 คะแนน ใครเลี่ยงโดยเอากระดาษปิดป้ายทะเบียนหวังหลบเลี่ยง โดนปรับเพิ่ม
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย -->llOUllnJllSJllSJ<-- : 17-03-2009 เมื่อ 14:55


    "+>>Handlebar - Club<<+" คลับสำหรับฅนรักแฮนแป๊ป
    """""""Vespa125 (1954) VM2M ลูกสูบ GPM 3 เเหวน 57.5mm """""""
      IP
  5. -->llOUllnJllSJllSJ<--'s Avatar

    -->llOUllnJllSJllSJ<-- said:

    มาตรฐาน หากได้รับหมายเรียกไม่ไปรายงานตัว..มีผลอย่างไร

    ..หากได้รับหมายเรียกไม่ไปรายงานตัว..มีผลอย่าง.

    การโดนหมายเรียกทางจารจร................มีผลเเบบนี้

    เนื่องจากหมายเรียกดังกล่าวได้ออกโดยพนักงานสอบสวนตา มประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 52 การขัดหมายเรียกก็จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 168 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ /บก.จร.


    "+>>Handlebar - Club<<+" คลับสำหรับฅนรักแฮนแป๊ป
    """""""Vespa125 (1954) VM2M ลูกสูบ GPM 3 เเหวน 57.5mm """""""
      IP
  6. Satit's Avatar

    Satit said:

    มาตรฐาน

    ชัดเจนดีครับ
    Real Spirit คือ
    Spirit ที่แท้จริง
    ความคลาสสิคจงสถิตในใจคุณ

    sa_tit_01@hotmail.com

      IP
  7. นักรบพบม่อ's Avatar

    นักรบพบม่อ said:

    Thumbs up ยกนิ้วให้2นิ้วเลยครับท่านฯ

    สาระดีมีประโยชน์แบบนี้...ยอดเยี่ยมมากครับท่านรองฯ em97
      IP
  8. Big-Oad's Avatar

    Big-Oad said:

    มาตรฐาน

    ได้ความรู้มากครับ ถึงแม้จะแสบตาเมื่ออ่านจบ ขอบคุณมากครับ
    ดูแลซึ่งกันและกัน
    t.keawnaet@gmail.com
    เลขที่บัญชีธนาคาร UOB 826-360-238-2 ธีระพงษ์ แก้วเนตร
    โทร 0897480196
      IP