รู้ไว้ไม่เสียหายผมเชื่อว่าทุกคนหรือใครหลายๆคนยังไม ่รู้



พระสมุทรเจดีย์ หรือที่ชาวปากน้ำเรียกว่า พระเจดีย์กลางน้ำ เป็นปูชนียสถาน อันเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญและเป็นความภาคภูมิใจของชาว จังหวัดสมุทรปราการ ทางราชการได้ถือเอาพระสมุทรเจดีย์เป็นตราจังหวัดสมุท รปราการ ธงของจังหวัดมีสีพื้นเป็นสีน้ำทะเล กลางผืนธงมีรูปพระสมุทรเจดีย์สีขาว ใต้รูปพระสมุทรเจดีย์มีคำว่า "สมุทรปราการ" คันธงมีแถบสีเหลือง ๒ แถบ
สถานที่ตั้ง
ตำบลปากคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ตรงข้ามศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ
ประวัติความเป็นมา
สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงตระหนักหลั งจากมีการสร้างเมืองสมุทรปราการเสร็จในปี พ.ศ. ๒๓๖๕ และได้มีการสร้างป้อมที่สำคัญขึ้น ๖ ป้อม ได้แก่ ป้อมประโคนชัย ป้อมนารายณ์ปราบศึก ป้อมปราการ ป้อมกายสิทธิ์ ป้อมนาคราช ป้อมผีเสื้อสมุทร (ปัจจุบันเหลืออยู่สมบูรณ์ป้อมเดียว) ผู้ที่ทรงโปรดเกล้าฯ ในการเป็นแม่กองในการก่อสร้างป้อมทั้ง ๖ นี้คือ พระเจ้าลูกเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์กับเจ้าพระยาพระคล ัง (ดิศ บุญนาค) พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชดำริว่า การที่พระองค์ได้สละพระราชทรัพย์ครั้งนี้ก็เพื่อสวัส ดิภาพของชาติและพระศาสนา จึงควรจักได้มีอนุสาวรีย์ไว้ให้ปรากฏพระเกียรติยศสืบ ไป ทรงเห็นเกาะหาดทรายอยู่ท้ายป้อมผีเสื้อสมุทร(ป้อมผีเ สื้อสมุทรเป็นเกาะกลางน้ำ) เหมาะแก่การที่จะประดิษฐานพระเจดีย์ไว้เป็นอนุสรณ์ ดังนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระเจ้าลูกยาเธอก รมหมื่นเจษฎาบดินทร์กับ เจ้าพระยาพระคลัง เป็นผู้อำนวยการสร้าง รับสั่งให้กรมพระราชวังบวรสถานมงคลมหาศักดิพลเสพ กับพระยาราชสงคราม จัดเขียนแผนผังรูปพระเจดีย์ถวาย เมื่อทรงทอดพระเนตรและทรงแก้ไขจนพอพระราชหฤทัยแล้ว จึงทรงเฉลิมพระนามว่า "พระสมุทรเจดีย์" ทั้งนี้คงจะมีพระราชประสงค์ให้เป็นคู่พระบารมีและอยู ่คู่กับเมืองสมุทรปราการ ที่พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯให้บูรณะขึ้นไว้แต่ยังมิทันจ ะได้ก่อสร้างพระสมุทรเจดีย์ เพราะยังไม่วางพระราชหฤทัยทรงเกรงพื้นฐานเกาะจะไม่แข ็งแรงพอจึงทรงให้ปรับปรุงพื้นฐานให้มั่นคงต่อไปเสียก ่อนแต่เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งยังมิทันที่พระองค์ จะได้ทรงสร้างองค์พระสมุทรเจดีย์ขึ้นตามพระราชประสงค ์ก็เสด็จสู่สวรรคตเสียก่อนในปี พุทธศักราช ๒๓๖๗ นั้นเอง สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบต่อมาทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์จักรี ในการถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล ้านภาลัย ณ พระเมรุท้องสนามหลวงในครั้งนั้น เจ้าอนุผู้ครองนครเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของประเทศสยาม ได้คุมราษฎรชาวเมืองเวียงจันทน์มาร่วมงานถวายพระเพลิ งด้วย เมื่อการถวายพระเพลิงเสร็จสิ้นแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยาศรีธรรมราชกับเ จ้าพระยาพระคลัง เป็นแม่กองในการจัดสร้างพระสมุทรเจดีย์ขึ้นตาม พระราชประสงค์ของสมเด็จพระชนกต่อไป ราษฎรที่เจ้าอนุเวียงจันทน์คุมลงมาในครามถวายพระเพลิ งจำนวน ๑,๐๐๐ คน ได้มีส่วนช่วยในการสร้างฐานรากขององค์พระสมุทรเจดีย์ ด้วยการตัดต้นตาลและลำเลียงต้นตาล จากจังหวัดเพชรบุรีและสุพรรณบุรี ลงมาทำรากฐานองค์พระสมุทรเจดีย์ จึงนับได้ว่าชาวเวียงจันทน์ได้มีส่วนร่วมบำเพ็ญกุศลส ร้างฐานรากขององค์พระสมุทรเจดีย์ด้วย ครั้นถึง วันอังคาร ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๒ จุลศักราช ๑๑๘๙ ปีกุล นพศก ตรงกับวันที่ ๓๐ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๓๗๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาศรีธรรมราช (น้อย) กับเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุญนาค) เป็นแม่กองจัดสร้างพระสมุทรเจดีย์ขึ้น เพื่อเป็นการสนองพระราชประสงค์ของสมเด็จพระบรมชนกนาถ ต่อไป
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
องค์พระสมุทรเจดีย์ที่ได้ทรงก่อสร้างในครั้งนี้รูปทร งเป็นรูปสี่เหลี่ยมไม้สิบสอง หาใช่รูปเจดีย์ที่เห็นอยู่ในขณะนี้ ฐานเจดีย์กว้างด้านละ ๑๐ วา สูง ๙ ศอก ชั้นที่สองยาวด้านละ ๕ วา สูง ๒ ศอกคืบ หน้ากระดาน องค์พระเจดีย์สูงสุดยอด ๙ วา ๓ ศอก รวมความสูงจากฐาน จนถึงยอด ๑๓ วา ๓ ศอกคืบ หรือ ๒๗.๗๕ เมตรมีกำแพงแก้วสองศอกคืบล้อมรอบองค์พระเจดีย์ มีศาลาทั้งสี่ทิศ มุงด้วยกระเบื้องจีน สิ้นพระราชทรัพย์ทั้งสิ้น ๑๓๓ ชั่ง ๑๐ ตำลึง ๙ บาท สลึงเฟื้อง หรือ ๑๐,๖๘๙ บาท ๓๗ สตางค์ รวมเวลาการก่อสร้าง ๗ เดือน ๕ วัน แล้วเสร็จการ ก่อสร้างเมื่อวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ ตรงกับวันที่ ๒๘ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๓๗๑ หลักฐานที่พบ
ครั้นถึง พุทธศักราช ๒๔๐๓ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จประพาสเมืองสมุทรปราการ เสด็จไปนมัสการพระสมุทรเจดีย์ด้วย ได้ทอดพระเนตรสภาพทั่วๆไปของพระสมุทรเจดีย์ทรงพระราช ปรารภว่า พระสมุทรเจดีย์นี้มีความสำคัญมากแต่รูปทรงต่ำเตี้ยไม ่สง่างาม หากจะสถาปนาให้สูงใหญ่ขึ้นไปอีก เรือของชาวต่างประเทศที่เข้ามาทางปากแม่น้ำเจ้าพระยา จะได้มองเห็นแต่ไกล จึงทรงหารือกับเจ้าพระยาระวิวงศ์มหาโกษาธิบดี หรือเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุญนาค) ถึงเรื่องนี้ เจ้าพระยาระวิวงศ์ฯทราบเรื่องคนร้ายลอบขึ้นไปลักพระบ รมธาตุดีอยู่แล้ว จึงเห็นเป็นโอกาสเหมาะที่จะกราบบังคมทูลให้ทรงทราบใน ขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่าเพราะพระเจดีย์สร้างแบบสี่เหลี่ยมย่ อไม้สิบสอง มีองค์ระฆังเล็กเรียวข้างปลายฐานเป็นบัวหงายซ้อนกันเ ป็นชั้น ๆ ประกอบทั้งที่คอระฆัง ซึ่งบรรจุพระบรมธาตุไว้ก็ไม่แน่นหนา ผู้ร้ายจึงถือโอกาสปีนป่ายขึ้นไปทำลายได้ง่าย เมื่อตกลงพระทัยที่จะจัดสร้างพระสมุทรเจดีย์ขึ้นใหม่ แล้ว จึงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ช่างไปถ่ายแบบเจดีย์ลอมฟาง ที่พระนครศรีอยุธยามา แล้วโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาระวิวงศ์มหาโกษาธิบดีเป็นแม่กอง กรมหมื่นสีหวิกรมเป็นนายช่าง พระยามหาอรรคนิกรและพระยาอมรมหาเดช ผู้คุมเลขทหารปืนใหญ่เมืองสมุทรปราการเป็นนายงาน โดยให้ทหารปืนใหญ่เมืองสมุทรปราการเป็นผู้ช่วยเหลือก ่อสร้าง แม่กองเจ้าของการได้จัดซื้อหินถมพื้นเพิ่มไปจนรอ บนเกาะที่ตั้ง โดยต่อออกไปทางด้านใต้แล้วรื้อศาลาลงจัดสร้างพระวิหา รใหญ่ หันหน้าสู่ทะเล ส่วนองค์พระเจดีย์แบบลอมฟางนั้น ได้สร้างสวมรูปพระเจดีย์องค์เดิมไว้ โดยเพิ่มส่วนสูงขึ้นไปอีก ๖ วา รวมเป็นสูง ๑๙ วา ๒ ศอกคืบ หรือ ๓๙.๗๕ เมตร สร้างพระเกี้ยวสี่องค์บนชั้นที่สอง สร้างพระแท่นทางด้านทิศเหนือ และทิศใต้ สำหรับตั้งเครื่องสังเวย ส่วนทางทิศตะวันออกทรงโปรดเกล้า ฯ ให้ช่างสลักแผ่นทอง แจ้งประวัติการก่อสร้างและจุดประสงค์ ตลอดจนพระราชทรัพย์ที่ได้ทรงบริจาคไปโดยพร้อมมูล เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้ทราบ นอกจากนั้นได้ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้ช่าง ทำการก่อสร้างศาลาที่ประทับทางทิศเหนือ สำหรับบำเพ็ญพระราชกุศลกับทรงสร้างฐานโพธิ์ ส่วนทางทิศใต้ทรงโปรดให้สร้างหอเทียนคู่หนึ่ง และหอระฆังคู่หนึ่ง หน้าพระวิหารและทรงโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างบันไดศิลาแลงลงสู่แม่น้ำทางทิศตะวันออก นอกจากนั้นมีหลักผูกเรือและเสาเข็มเจดีย์รอบตัวเกาะ ในการก่อสร้างครั้งหลังนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ๑๒ พระองค์ไว้ที่คอระฆังแทนของเดิมที่คนร้ายลักไปโดยแห่ มาทางชลมารค ครั้นถึงวันอาทิตย์ แรม ๓ ค่ำ เดือนยี่ (ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๔๐๓) เวลาบ่าย พระสงฆ์ราชาคณะ ๙๐ รูป เจริญพระพุทธมนต์ รุ่งขึ้นวันจันทร์ที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๔๐๓ พระสงฆ์รับพระราชทานฉันท์เสร็จแล้ว ได้ฤกษ์ทรงบรรจุพระบรมธาตุ แล้วทรงกระทำพระราชพิธียกคอระฆัง ประดิษฐานพระปฏิมากรไชยวัฒน์และพระห้ามสมุทรไว้ในวิห าร และทำการสมโภชเป็นงานใหญ่ หลังจาการสมโภชพระสมุทรเจดีย์แล้วประมาณ ๕ เดือน กิจการต่าง ๆ ของพระสมุทรเจดีย์ก็แล้วเสร็จสมบูรณ์ ณ วันแรม ๙ ค่ำ เดือน ๗ ตรีศก จุลศักราช ๑๒๒๓ ตรงกับวันที่ ๒ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๐๔ สิ้น พระราชทรัพย์ในการก่อสร้าง ๕๘๘ ชั่ง หรือ ๔๗,๒๔๐ บาท
ครั้นสิ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีรัชกาลต่อๆมาก็ได้ทรงอุ ปถัมภ์อยู่เสมอ และนับตั้งแต่มีการก่อสร้างพระสมุทรเจดีย์แล้ว หากพระมหากษัตริย์ เสด็จโดยชลมารคผ่านเข้าและผ่านออก จะต้องหยุดเรือพระที่นั่งแล้วทรงบูชาด้วยเครื่องสักก าระทุกครั้ง เส้นทางเข้าสู่พระสมุทรเจดีย์
เส้นทางเข้าสู่พระสมุทรเจดีย์ สามารถเดินทาง ได้ทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
๑. เดินทางมาทางฝั่งถนนสุขสวัสดิ์ หรือพระประแดง สามารถมาโดยรถโดยสารสาย ๒๐ ป้อมพระจุล - วงเวียนใหญ่ จะถึงพระสมุทรเจดีย์เลย หรือถ้าเดินทางโดยพาหนะส่วนตัว จะแล่นมาตามถนนสุขสวัสดิ์ เข้าสู่แยกเจดีย์ สุดทางคือ พระสมุทรเจดีย์
๒. มาจากฝั่งปากน้ำ ข้ามฟากด้วยเรือข้ามฟากที่ท่าวิบูลย์ศรี เมื่อขึ้นจากเรือก็จะถึงองค์พระสมุทรเจดีย์