?บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ประกอบการ ?เหมืองแร่ทองคำชาตรี? ซึ่งเป็นเหมืองแร่ทองคำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่บริเวณกลุ่มแนวหินชั้นหินคดโค้งเลย (Loei Fold Belt) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของแผ่นเปลือกโลกอินโดจีน (Indochina Block) โดยเหมืองของเราอยู่ห่างจากกรุงเทพไปทางทิศเหนือประม าณ 280 กิโลเมตร บนรอยต่อระหว่างจังหวัดพิจิตรและเพชรบูรณ์ในภาคเหนือ ตอนล่างของประเทศไทย โดยตั้งชื่อโครงการว่า ?ชาตรี? เพื่อเป็นเกียรติแก่ นายชาตรี ชัยชนะพูลผล นักธรณีวิทยารุ่นบุกเบิก ผู้มีบทบาทสำคัญในการค้นพบแหล่งแร่ นำมาสู่ ?เหมืองแร่ทองคำชาตรี? ของเราในทุกวันนี้ ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตทองคำ ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยยึดมาตรฐานระดับโลก ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและความยั่งยืน และส่งต่อ ?คุณค่าไทย? ผ่านทองคำไทย โดยคนไทย เพื่อคนไทย สู่สายตาโลก
ในฐานะบริษัทในเครือของ บริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด ลิมิเต็ด (Kingsgate Consolidated Limited) ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลีย (Australian Securities Exchange: ASX) เราได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญที่เพิ ่มขีดความสามารถอันเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จของเรา การถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของเราใ นการพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการปฏิบัติตามแนวทางการดำเนินงานอย่างยั่งยืน
ช่วงปี 2544 ? 2559 เหมืองทองอัคราได้ผลิตโลหะทองคำ 1.8 ล้านออนซ์ และโลหะเงิน 10 ล้านออนซ์ โดยยังคงมีปริมาณสำรองทรัพยากรแร่ทองคำ 3.4 ล้านออนซ์ และทรัพยากรแร่เงิน 29.4 ล้านออนซ์ คิดเป็นมีปริมาณสำรองสินแร่ทองคำ 1.3 ล้านออนซ์ และสินแร่เงิน 11.9 ล้านออนซ์ ณ เดือนตุลาคม 2566 ปัจจุบันโรงประกอบโลหกรรมของเหมืองแร่ทองคำชาตรีมีกำ ลังการผลิตติดตั้ง (Nameplate Capacity) รวมอยู่ที่ 5 ล้านตันต่อปี
นอกเหนือจากรางวัลอันทรงเกียรติที่ได้รับ อัคราเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการเหมืองแร่รายแรก ๆ ที่ได้รับการรับรองการใช้และจัดการสารไซยาไนด์ที่ได้ มาตรฐานระดับสากล (International Cyanide Management Code) เราให้ความสำคัญต่อการดำเนินการอย่างมีความรับผิดชอบ ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเราตระหนักดีว่าการดูแลชุมชนและสิ่งแวดล้อม เป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนให้อัคราเป็นผู้นำในอุต สาหกรรมเหมืองแร่
เมื่ออัคราเดินกำลังการผลิตอย่างเต็มรูปแบบ บริษัทจะป้อนเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไทยมากถึง 4.3 พันล้านบาทต่อปี* ซึ่งรวมถึงค่าภาคหลวงแร่ประมาณหนึ่งพันล้านบาทต่อปี โดย 40% ของค่าภาคหลวงแร่จะถูกจัดสรรให้แก่รัฐบาลส่วนกลาง อีก 50% ถูกจัดสรรให้แก่ชุมชนในพื้นที่ที่บริษัทดำเนินการทำเ หมือง และอีก 10% ที่เหลือจะถูกจัดสรรให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลทั่ว ประเทศ อัครามุ่งมั่นที่จะส่งเสริมสวัสดิการและการเติบโตของ ชุมชน โดยจัดสรรเงินอีก 21% ของค่าภาคหลวงแร่เข้ากองทุนเพื่อพัฒนาชุมชนในมิติต่า ง ๆ รวมทั้งสุขภาพของประชาชน
อัคราให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนรอบเห มืองแร่ทองคำชาตรี โดยมีนโยบายการจ้างงานที่กำหนดให้พนักงานของบริษัทกว ่า 90% รวมถึงผู้รับเหมา เป็นชาวบ้านในพื้นที่รอบเหมือง ซึ่งนโยบายนี้ไม่เพียงแต่สร้างเสถียรภาพทางรายได้ให้ แก่ชุมชนเท่านั้น แต่ยังส่งเสริมความแข็งแกร่งของสถาบันครอบครัวอีกด้ว ย ทำให้สมาชิกในชุมชนมีโอกาสได้ทำงานใกล้บ้านและอยู่กั บครอบครัวพร้อมหน้า ไม่ต้องจากครอบครัวออกไปหางานที่อื่น ซึ่งเป็นภาพที่เห็นได้ยากในพื้นที่อื่น ๆ ในประเทศไทยที่พ่อแม่ส่วนใหญ่ต้องไปทำงานห่างไกลจากค รอบครัว ประโยชน์ทางสังคมนี้มีมูลค่ามากเกินกว่าที่จะวัดเป็น เม็ดเงินได้
อัคราจัดให้มีการตรวจสุขภาพของประชาชนรอบพื้นที่ในรั ศมี 5 กิโลเมตร พร้อมทั้งจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้แก่โรงพยาบาลในพ ื้นที่ และจัดอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานให้กับอาสา สมัครประจำหมู่บ้าน ในอนาคตบริษัทมีแผนที่จะจัดตั้งศูนย์กีฬาชุมชน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดี อัครามุ่งผลักดันการศึกษาและการเรียนรู้โดยร่วมมือกั บหน่วยงานหลายภาคส่วนในการพัฒนาการศึกษาในทุกมิติ ตั้งแต่การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของโรงเรียนให้มี ความปลอดภัยในการเรียน ตลอดจนสนับสนุนบุคลากรทางการศึกษาให้ได้รับการฝึกอบร มหรือเรียนรู้เพิ่มเติม และสร้างโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ รวมทั้งสนับสนุนสื่อการเรียนการสอนและเครื่องแต่งกาย นอกจากนี้ บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของการบริโภคอาหารที่ถูกหล ักโภชนาการ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างพัฒนาการเด็ก ทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา จึงได้จัดโครงการความมั่นคงทางอาหาร โดยดำเนินโครงการกับโรงเรียนบ้านคีรีเทพนิมิต หมู่ที่ 3 บ้านเขาดิน ตำบลเขาเจ็ดลูก อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร โดยบริษัทให้การสนับสนุนการก่อสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก ่ไข่ และโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า นอกจากนี้ยังสนับสนุนงบประมาณจัดซื้อแม่ไก่ อาหารไก่ และเชื้อเห็ดนางฟ้า เพื่อเป็นต้นทุนให้กับโรงเรียน นอกจากจะนำผลผลิตมาทำอาหารกลางวันและนำส่วนที่เหลือไ ปจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้แล้ว ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรและครัวให้แก่นักเร ียนอีกด้วย
เพราะการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่และทุกช่วงวัย อัคราจึงส่งเสริมให้พนักงานได้ศึกษาต่อในระดับที่สูง ขึ้นหรือรับการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะและประสิทธิภาพ ในการทำงาน ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เหมืองแร่ทองคำชาตรี เปรียบเสมือนห้องเรียนนอกโรงเรียนขนาดใหญ่สำหรับผู้ท ี่สนใจศึกษาด้านธรณีวิทยา บริษัทจึงเปิดบ้านต้อนรับคณะนักเรียน นักศึกษา และอาจารย์จากสถาบันต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยสนับสนุนให้บุคลากรของเรามีโอกาสแบ่งปันวิชาความร ู้ ส่งมอบประสบการณ์จากการปฏิบัติงานจริง
อัคราพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ชุมชนท้องถิ่น ผ่านการจ้างงานทั้งโดยตรงและผ่านผู้ประกอบการในพื้นท ี่ นอกจากนี้ บริษัทยังดำเนินโครงการส่งเสริมอาชีพ จัดตั้งสหกรณ์การเกษตรและแปรรูป และวางแผนพัฒนาศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน รวมถึงแผนการพัฒนาพื้นที่เหมืองและบริเวณโดยรอบให้เป ็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้ ผลักดันให้เกิดโฮมสเตย์ในพื้นที่เพื่อตอบโจทย์นักท่อ งเที่ยวที่สนใจสัมผัสวิถีชีวิตชุมชน เพื่อให้การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนไปในทิศทางที่ ยั่งยืน
บริษัทมุ่งมั่นในการพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพของผู้ปร ะกอบการวิสาหกิจชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง พัฒนาความรู้ด้านการตลาดเพื่อเพิ่มช่องทางการขายสินค ้าและบริการของวิสาหกิจชุมชนไปสู่ลูกค้าในวงกว้างขึ้ นอันจะนำไปสู่การสร้างรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่บริษัทให้การสนับสนุ นทั้งหมดจำนวน 13 กลุ่ม
พื้นที่สีเขียว ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของ ?เมืองยั่งยืน? ? บริษัทจึงตั้งเป้าหมายปลูกต้นไม้สร้างพื้นที่สีเขียว เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 1,000,000 ต้น ภายในปี 2570 ทั้งในเขตพื้นที่เหมืองและในป่าชุมชนผ่านความร่วมมือ กับหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาชนในพื้นที่
เหมืองอัครา?ดูแลตรวจสอบและซ่อมบำรุงระบบประปาห มู่บ้านในพื้ นที่รอบเหมือง รวมถึงตรวจสอบระบบไฟฟ้าเป็นประจำทุกเดือน หากพบว่ามีจุดใดชำรุดเสียหายหรือระบบขัดข้อง ทางบริษัทจะเข้าพื้นที่เพื่อให้ความช่วยเหลือโดยเร็ว ที่สุดเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงน้ำอุปโภคบริโภคท ี่สะอาดได้มาตรฐาน นอกจากนี้ บริษัทยังมีแผนการดำเนินโครงการร่วมกับองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล ในการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรให้กับเกษตรกรในพื้น ที่ โดยการนำน้ำจากบ่อเหมืองไปใช้ประโยชน์ในการเกษตร โดยเฉพาะการทำเกษตรในช่วงฤดูแล้ง เพื่อให้ประชาชนหรือเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น
?